แพะ (Goat) เป็นสัตว์ให้เนื้อ และให้นมที่นิยมเลี้ยงชนิดหนึ่ง เนื่องจากนมแพะที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ใกล้เคียงหรือสูงกว่านมโค กระบือ และมนุษย์ มีไขมันในระดับต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ โมเลกุลไขมันมีขนาดเล็ก ทำให้ง่ายต่อการย่อย และการดูดซึมง่ายในระบบทางเดินอาหารสามารถนำใช้บริโภคแทนนมมนุษย์ได้ดีกว่านมโคและนมกระบือ นอกจากนี้ แพะเป็นสัตว์ให้เนื้อเป็นอาหารที่มีโปรตีนที่ย่อยได้ในระดับสูงกว่าเนื้อโค สุกร และไก่ และมีไขมันในระดับต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมถึงขน และหนังแพะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน อาทิ ใช้ทำกระเป๋า เสื่อ พรม และเชือก ส่วนมูลแพะใช้ทำเป็นปุ๋ย เขา และกีบนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เลือด และกระดูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์
แหล่งเลี้ยงแพะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ในภาคใต้ และเป็นแหล่งบริโภคแพะแหล่งใหญ่ของประเทศ เนื่องจากกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามนิยมบริโภคแพะ โดยเฉพาะในช่วงวันสำคัญทางศาสนาที่ต้องใช้ประกอบพิธีกรรม รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
ผลผลิตจากแพะ
1. เนื้อ
เนื้อแพะจัดว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะเมื่อเทียบกับเนื้อของสัตว์เคี้ยวเอื้องทั่วไป เช่น เนื้อโค เนื้อแกะ ฯลฯ จะมีโปรตีนย่อยได้สูงกว่า ในขณะที่มีไขมันต่ำกว่า สำหรับเนื้อลูกแพะอายุก่อนหย่านมที่น้ำหนัก 6–8 กิโลกรัม มีชื่อเสียงว่ามีรสชาติดี แพะสามารถจับขายได้ตั้งแต่อายุ 5–6 เดือน มีน้ำนักประมาณ 25 กิโลกรัม ซึ่งเนื้อแพะในช่วงอายุนี้จะมีความน่ารับประทาน
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อชนิดต่างๆ
พลังงาน
|
โปรตีน |
ไขมัน |
เหล็ก |
(กิโลแคลอรี่) |
(กรัม) |
(กรัม) |
(กรัม) |
แพะ : 122 วัว : 345 หมู : 310 แกะ : 235 ไก่ : 120 |
แพะ : 23 วัว : 23 หมู : 21 แกะ : 22 ไก่ : 21 |
แพะ : 2.58 วัว : 16 หมู : 24 แกะ : 16 ไก : 3.5 |
แพะ : 3.2 วัว : 2.9 หมู : 2.7 แกะ : 1.4 ไก่ : 1.5 |
ที่มา : วินัย ประลมพ์กาญจน์, 2542.(1)
2. นม
คุณค่าทางอาหารในน้ำนมแพะใกล้เคียงกับน้ำนมโค แต่มีคุณสมบัติที่เด่นกว่า คือ น้ำนมแพะสามารถย่อยได้ง่าย มีเม็ดไขมันขนาดเล็ก ไขมันกระจายตัวดี ย่อยได้ง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี น้ำนมแพะประกอบด้วยกรดไขมันที่สำคัญ ได้แก่ กรด Caproic,Caprylic และ Capric ซึ่งมีการนำมาใช้ในการรักษาโรคในทางการแพทย์ เช่น โรคภาวะการดูดซึมสารอาหารบกพร่อง (Malabsorption Syndrome) นอกจากนั้น น้ำนมแพะยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่สำคัญหลายชนิด เช่น Histidine, Aspartic acid, Phenylalanine ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้มีประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และเด็กที่แพ้น้ำนมโค
คุณค่าโภชนาการของเนื้อชนิดต่างๆ
วิตามินเอ |
วิตามินบี 12 |
วิตามินดี |
โปรตีน |
ขนาดของเม็ด |
วิตามินบี 6 |
(หน่วยสากล) |
(มิลลิกรัม/กรัม) |
(มิลลิกรัม/ลิตร) |
(ร้อยละ) |
ไขมัน (ไมโครมิลลิกรัม) |
(มิลลิกรัม/ลิตร) |
น้ำนมแพะ:2 ,074 น้ำนมแกะ :313.3 น้ำนมโค : 1,560 น้ำนมกระบือ : 1,669 น้ำนมคน : 1,898 |
น้ำนมแพะ : 0.0006 น้ำนมแกะ : 0.0006 น้ำนมโค : 0.0042 น้ำนมกระบือ : 0.0004 น้ำนมคน : 0.003 |
น้ำนมแพะ : 23.7 น้ำนมแกะ : – น้ำนมโค : – น้ำนมกระบือ : – น้ำนมคน : – |
น้ำนมแพะ:3.7 น้ำนมแกะ:5.1 น้ำนมโค : 2.8 น้ำนมกระบือ : 3.7 น้ำนมคน: 1.5 |
น้ำนมแพะ : 3.49 น้ำนมแกะ : 3.30 น้ำนมโค : 4.55 น้ำนมกระบือ : 5.92 น้ำนมคน : – |
น้ำนมแพะ: 0.07 น้ำนมแกะ: 0.07 น้ำนมโค: 0.64 น้ำนมกระบือ : 0.25 น้ำนมคน : 0.10 |
น้ำตาลแล็กโทส |
ไขมัน |
ไบโอดีน |
กรดโฟลิก |
กรดแอสคอร์บิก |
กรดนิโคทินิก |
(ร้อยละ) |
(ร้อยละ) |
(มิลลิกรัม/ลิตร) |
(มิลลิกรัม/ลิตร) |
(มิลลิกรัม/ลิตร) |
(มิลลิกรัม/กรัม) |
น้ำนมแพะ 5.0 น้ำนมแกะ: 4.8 น้ำนมโค: 4.6 น้ำนมกระบือ : 4.8 น้ำนมคน : 6.5 |
น้ำนมแพะ : 4.8 น้ำนมแกะ : 12.6 น้ำนมโค : 4.8 น้ำนมกระบือ : 6.5 น้ำนมคน : 3.6 |
น้ำนมแพะ: 0.036 น้ำนมแกะ: 0.004 น้ำนมโค: 0.031 น้ำนมกระบือ : 0.13 น้ำนมคน : 0.002 |
น้ำนมแพะ : 0.0024 น้ำนมแกะ : – น้ำนมโค : 0.0028 น้ำนมกระบือ : 0.15 – น้ำนมคน : 0.002 |
น้ำนมแพะ : 15.0 น้ำนมแกะ : 1.97 น้ำนมโค : 21.1 น้ำนมกระบือ: 25.4 น้ำนมคน : 43.0 |
น้ำนมแพะ: 1.87 น้ำนมแกะ: 0.51 น้ำนมโค : 0.94 น้ำนมกระบือ : 1.71 น้ำนมคน : 1.47 |
ไทอามีน |
ไรโบฟลาวิน |
โคลีน |
(มิลลกรัม/ลิตร) |
(มิลลิกรัม/ลิตร) |
(มิลลิกรัม/ลิตร) |
น้ำนมแพะ : 0.40 น้ำนมแกะ : – น้ำนมโค : 0.44 น้ำนมกระบือ : 0.50 น้ำนมคน : 0.16 |
น้ำนมแพะ : 1.84 น้ำนมแกะ : 0.40 น้ำนมโค : 1.75 น้ำนมกระบือ : 1.07 น้ำนมคน : 0.36 |
น้ำนมแพะ : 150 น้ำนมแกะ : – น้ำนมโค : 121 น้ำนมกระบือ : – น้ำนมคน : 90 |
ที่มา : ชมรมกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ, 2550. โภชนาการของน้ำนมชนิดต่างๆ.(2)
.ผลิตภัณฑ์นมแพะ
ครีม (Cream)
นมแพะมีเม็ดไขมันเล็กและกระจายตัวดีกว่านมโค ดังนั้น การปล่อยให้ไขมันลอยตัวแยกเป็นครีมจึงใช้เวลานานกว่า การแยกครีมนมแพะจึงทำได้ยากกว่านมโค อย่างไรก็ตามวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้แยกครีมของนมแพะมีลักษณะเหมือนกับของนมโค
เนยเหลว (Butter)
การนำนมแพะมาทำเนยเหลวไม่ค่อยนิยมทำกัน แต่คนที่เคยชิมเนยเหลวของแพะมักจะติดใจ ดังนั้น จึงน่าจะมีตลาดสำหรับเนยเหลวที่ทำจากนมแพะ เหตุผลที่ไม่ค่อยมีคนทำเนยเหลวนมแพะก็เพราะการแยกครีมจากน้ำนมแพะค่อนข้างยากเนยเหลวได้มาจากการแยกครีมออกจากน้ำนมก่อน แล้วจึงนำมาปั่นด้วยเครื่องปั่นให้ได้เนยเหลวออกมา เครื่องปั่นเนยสำหรับกิจการขนาดเล็กสามารถใช้มือปั่น แต่ถ้าในระดับการค้าต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ขณะปั่นเนยต้องมีการเติมน้ำทีละน้อย เพื่อให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน เมื่อไขมันจับกันเป็นเม็ดได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วล้างด้วยน้ำ แล้วจึงทำให้เป็นก้อนตามลักษณะที่ต้องการ เก็บไว้ในที่เย็นอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ถ้าต้องการรสชาติเค็มให้เติมเกลือ ในขณะที่ใช้น้ำล้างก่อนที่จะนำเม็ดไขมันมาทำเป็นก้อนเนยเหลวจากนมแพะมีสีขาว บางทีอาจเติมสีลงไปด้วยเพื่อให้น่ารับประทาน
ไอศกรีม (Ice – Cream)
ไอศกรีมนมแพะมีรสชาติอร่อยมาก เป็นการแปรรูปนมแพะให้ได้ราคาสูงขึ้นวิธีหนึ่ง
โยเกิร์ต (Yoghourt)
หลักการทำโยเกิร์ตคือ การเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย เช่น แลคโตแบซิลัส บัลแกริคัส (Lactobacillus Bulgaricus) หรือ สเตรปโตคอกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus Thermophilus) ลงในนม แบคทีเรียดังกล่าวจะทำการเปลี่ยนน้ำตาลแลคโตสในนมให้กลายเป็นกรดแลกติก ซึ่งจะทำให้น้ำนมจับตัวเป็นก้อนและกรดนี้เป็นตัวสำคัญในการเก็บรักษานมไม่ให้เน่าเสียได้ง่าย โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวจึงมีอายุการเก็บนานกว่านมธรรมดาการทำโยเกิร์ตจำหน่ายเป็นการค้าต้องการสภาพแวดล้อมที่สะอาด มีหัวเชื้อที่ดี และใช้น้ำนมที่มีคุณภาพ หัวเชื้อที่ใช้มีความสำคัญมาก เพราะจะต้องมีสัดส่วนของจุลินทรีย์ที่ถูกต้องในการทำให้ผลผลิตมีกลิ่น รสสม่ำเสมอ การนำน้ำนมมาผ่านการพาสเจอร์ไรซ์เสียก่อนจะทำให้ได้โยเกิร์ตที่มีคุณภาพสูง เมื่อเติมหัวเชื้อโยเกิร์ตลงในน้ำนมแล้วให้นำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37.5-45 °C การบ่มอาจใช้ตู้บ่มที่สร้างขึ้นเฉพาะซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้อย่างถูกต้อง โยเกิร์ตจะก่อตัวได้ที่หลังจากบ่ม 6-8 ชั่วโมง จากนั้นนำเข้าตู้เย็นโยเกิร์ตนมแพะค่อนข้างเหลวกว่าโยเกิร์ตนมโค การทำให้มันแข็งตัวมากขึ้นทำได้โดยการเติมนมผงลงไปก่อนบ่ม ในการทำโยเกิร์ตสามารถปรุงแต่งกลิ่นและรสตามต้องการได้อย่างเช่น รสผลไม้ชนิดต่างๆ เป็นต้น
เนยแข็ง (Cheese)
เนยแข็งแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ เนยแข็งสด (Fresh Cheese), เนยแข็งนุ่ม (Soft Cheese ), บลูชีส (Blue Cheese), ฮาร์ดชีส (Hard Cheese) และเวย์ชีส (Whey Cheese)
น้ำนมที่นำมาทำเนยในประเทศฝรั่งเศสมักจะเป็นนมดิบที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เพราะกระบวนการผลิตมีการใช้เชื้อจุลินทรีย์ตามธรรมชาติที่มีในน้ำนม ดังนั้น น้ำนมดิบที่นำมาใช้จึงควรมีความสะอาดปลอดจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค โดยเฉพาะโรคแท้งติดต่อ(Brucellosis)
เนยแข็งทำโดยการตกตะกอนโปรตีนในนม (Casein) ด้วยกรดแลกติกและเอนไซม์เรนเนท (Rennet)การรวมตัวกันเป็นลิ่มของโปรตีนในนมอันเนื่องมาจากกรดแลกติกนี้ ทำโดยปล่อยให้เชื้อจุลินทรีย์พวกแลคโตบาซิลไล (Lactobacilli) ที่มีตามธรรมชาติขยายตัว เปลี่ยนน้ำตาลในนมให้เป็นกรดแลกติก แต่ถ้าใช้นมพาสเจอร์ไรซ์มาทำเนยแข็งจะต้องทำการเติมหัวเชื้อแลคโตบาซิลไลลงไป เพราะเชื้อที่มีอยู่ตามธรรมชาติถูกฆ่าตายหมดแล้ว แบคทีเรียชนิดอื่นๆ และอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการจับตัวเป็นลิ่มของน้ำนมเช่นกันเอนไซม์เรนเนทซึ่งโรงงานเนยแข็งนำมาใช้ในการรวมตัวของโปรตีนนมนี้ แต่เดิมได้มาจากกระเพาะลูกโค แต่ปัจจุบันนี้อาจจะได้มาจากแหล่งอื่นๆ เอนไซม์นี้ควรจะมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ได้คุณภาพที่สม่ำเสมอ เรนเนทจะทำให้โปรตีนจับตัวกันเสมือนเป็นตาข่ายคลุมเนื้อนมเอาไว้
• เนยแข็งสด (Fresh Cheese) ได้จากการนำลิ่มนมที่เกิดจากกรดแลกติก ซึ่งก่อตัวขึ้นประมาณ 24 ชั่วโมง มาไล่น้ำออกจากลิ่มนมแล้วนำไปเข้าแม่พิมพ์เป็นรูปตามต้องการ เนยแข็งสดที่ได้สามารถบริโภคหลังจากที่ทำเสร็จใหม่ๆเนยแข็งนุ่ม (Soft Cheese) วิธีทำคล้ายกับเนยแข็งสด แต่การไล่น้ำออกจากลิ่มนมใช้เวลานานกว่า จากนั้นนำไปบ่มทิ้งไว้ ซึ่งเอนไซม์เรนเนทในนมและจุลินทรีย์จะช่วยส่งผลให้ลิ่มแข็งขึ้น ระยะเวลาในการบ่มประมาณ 5-30 วัน เนยแข็งที่ได้มีคุณสมบัติต่างๆ กันไป ขึ้นอยู่กับวิธีการบ่มและแบคทีเรียที่มีอยู่ในลิ่มนม อาจจะมีการเติมเกลือลงไปเพื่อปรุงรสด้วย
• บลูชีส (Blue Cheese) ทำมาจากลิ่มนมที่ได้จากกรดและเอนไซม์เรนเนท จากนั้นมีการเพาะเชื้อรา Penicillum Glaucum การบ่มต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ 9-10 °C มีความชื้น 90-95 % บ่มนานถึง 5 เดือนนอกจากบลูชีสแล้วก็ยังมีฮาร์ดชีสที่ต้องใช้เวลาในการบ่มนาน และระหว่างบ่มต้องคอยควบคุมสภาพแวดล้อมด้วย ทำให้ไม่ค่อยมีคนทำ ดังนั้นเนยแข็งทั้งสองชนิดจึงมีไม่มากนักและมักขาดตลาด ในการบ่มฮาร์ดชีสนั้นส่วนใหญ่บ่มในที่มืดใช้เวลาหลายเดือน อุณหภูมิแวดล้อม 8-10 °C และความชื้น 80-90 % การระบายอากาศต้องดีด้วย เพื่อขับไล่ความร้อนจากการบ่มให้ได้สภาพอุณหภูมิที่สม่ำเสมอ
3. ขนแพะ
ขนแพะเป็นผลพลอยได้จากแพะที่ถูกคัดทิ้ง โดยแพะจะถูกปล่อยให้หากินเป็นบริเวณกว้าง และตัดขนปีละสองครั้ง ยิ่งขนแพะมีราคาดีขึ้นก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการผลิตขนแพะเป็นผลพลอยได้จากฝูงแพะนมที่มีการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ซาแนนกับสายพันธุ์แองกอร่า ลูกของแพะพันธุ์ผสมนี้จะมีรูปร่างที่เหมาะสมที่จะเป็นแพะเนื้อมากกว่าซาแนนพันธุ์แท้ จึงมีแนวโน้มเป็นอย่างมากที่จะนำแพะเลือดแองกอร่าเข้ามาผสมในส่วนหนึ่งของฝูงแพะนมเพื่อไม่เพียงแต่ให้ขนอย่างเดียว แต่ยังช่วยปรับปรุงเรื่องเนื้อด้วย ขนแคชเมียร์นั้นผลิตกันในประเทศจีน ตุรกีและรัสเซีย โดยเป็นผลพลอยได้จากแพะที่เลี้ยงไว้เพื่อเอาทั้งนมและเนื้อ แพะป่าก็พบว่าให้ขนแคชเมียร์เหมือนกัน
4. หนังแพะ
หนังแพะนำมาทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เช่น รองเท้า กระเป๋า และเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์หนังจากลูกแพะจะมีราคาแพงเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ขนแพะ ความต้องการสินค้าที่ได้จากผลิตภัณฑ์หนังแพะสูงในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ที่มาจากhttp://pasusat.com/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%B0/